วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเยียวยาด้วยดนตรี ตอนที่ 3 เพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดและรักษาโรค

การเยียวยาด้วยดนตรี ตอนที่ 3 เพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดและรักษาโรค

อิทธิพลของเพลงมีมากในชีวิตประจำวันของคนเรา หากที่ทำงานหรือบริษัทเปิดเพลงบรรเลงก็จะทำให้พนักงานทำงานอย่างกระชุ่มกระชวย หรือขณะที่มีการแข่งขันกีฬา ถ้าเปิดเพลงปลุกใจก็จะทำให้เหมือนมีพลังพิเศษเกิดขึ้น ตรงกันข้ามถ้ากำลังอยู่ในอารมณ์เศร้า อกหัก หากฟังเพลงเกี่ยวกับความผิดหวังก็จะยิ่งทำให้เกิดความตึงเครียดคิดถึงอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นเพลงจึงมีอิทธิพลต่อชีวิตและจิตใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

เพลงทำให้สมองดีขึ้น ในโอกาสนี้อยากจะชี้ให้เห็นถึงผลของการฟังเพลงที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและสมอง ซึ่งเพลงประเภทนี้คงไม่ใช่เพลงประเภทแร็พ,ร็อค,ดิสโก้

นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอูเบิรน์ และมหาวิทยาลัยสเตดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาร่วมกันพบว่าดนตรีคันทรีมิวสิคของอเมริกา มีอิทธิพลโน้มน้าวใจอย่างมากเมื่อฟังแล้วอยากฆ่าตัวตายมากกว่าเพลงประเภทอื่น ๆ สาระของเพลงจะบอกถึงความวุ่นวายใจในความรัก การทำงานที่ยากลำบาก รวมถึงการกินหล้าจนเป็นพิษสุราเรื้อรัง เมื่อฟังแล้วทำให้เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่อยากสู้ชีวิตอีกต่อไป

ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการทดสอบเรื่องเสียงเพลงที่ผลต่อความเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยการปลูกต้นไม้ไว้ 2 แปลง แปลงหนึ่งปลูกแล้วรดน้ำพรวนดินสม่ำเสมอ ส่วนอีกแปลงเพิ่มการเปิดเพลงบรรเลงเข้าไปด้วย ต่อมาพบว่าต้นไม้ที่เปิดดนตรีให้ฟังเจริญงอกงามออกดอกออกผลได้ดีกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้เปิดเพลง เพลงที่เขาเปิดนั้นเป็นเพลง

จากหนังสือสยามรัฐรายสัปดาห์ ในคอลัมน์ศิลปะบันเทิง ฉบับที่ 24 ปีที่ 20 ได้สรุปการวิจัยของนักวิจัยค้นคว้าทางสมองของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (ยูซี) เมืองเออร์วายน์ไว้ดังนี้

1 .เพลงคลาสิคช่วยให้สมองดีขึ้น โดยให้นักศึกษาฟังเพลงคลาสสิค SONATA IN (K.448) เปียโนคู่ของโมสาร์ท (เล่นสองคน) ใช้สมาธิฟัง 10 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษาทุกคนสามารถผ่านการทดสอบโดยมีไอคิวสูงขึ้น 9 แต้ม

คำกล่าวของ ฟราสซิส รอเชอร์ นักค้นคว้าทางปราสาทชีววิทยา ค้นพบว่าเพลงร็อคและป็อปที่เป็นที่นิยมอยู่ในอเมริกาทั้งกลางวันและกลางคืน (วิทยุ,โทรทัศน์, แผ่นเสียง,วิทยุในรถยนต์)ดนตรีเหล่านี้มีผลต่อสติปัญญาของมนุษย์ในด้านลบ คือจังหวะดนตรีกระแทกกระทั้น ซ้ำซาก ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ จะไปทำลายเซลของมันสมองมากกว่าส่งเสริม (สยามรัฐสัปดาห์พิเศษฉบับที่ 24 ปีที่ 40)

2 .เพลงคลาสสิคที่ดีช่วยผู้ป่วยพิการ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดของญี่ปุ่น MR.TAKEOMI AKABOSHI ได้ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยพิการให้สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้ อีกทั้งช่วยคลายความเศร้า หงอยเหงา เราจึงเห็นว่าดนตรีสามารถบำบัดรักษาโรคได้

3.ดนตรีใช้ในห้องผ่าตัด หมอแน็ช หนึ่งในจำนวนแพทย์หลายคนใช้ดนตรีเปิดในห้องผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาคนไข้ได้ดีทีเดียว

4.ดนตรีทำให้โรคหายเร็ว หมอแมทธิวเอช ลี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ผู้ติดยาเสพติด มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งนิวยอรค์ กล่าวว่า เราพบว่าดนตรีให้ประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันปัญหายุ่งยากต่าง ๆ ของคนไข้ ช่วยให้อาการของคนไข้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก และทำให้นอนพักอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง ดนตรีที่ดีจะช่วยลดอาการตื่นเต้น และหดหู่ใจ

5.หญิงที่คลอดบุตร นางซูซา

6.ดนตรีกับเด็กพิการทางสมอง รูธ ลี แอดเลอร์ นักดนตรีบำบัดเด็กในโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐ ซึ่งมีปัญหากระทบด้านอารมณ์ ทำให้สมองสั่งการเชื่องช้า แต่จากการบำบัดด้วยเสียงดนตรี ปรากฏว่าเด็กเหล่านี้มีการตอบสนองได้อย่างดียิ่ง

7.คนไข้โรคประสาท หมอโอลิเวอร์ แช็ค กล่าวว่า คนไข้ที่ได้รับความทรมานจนเป็นโรคประสาทร่างกายผิดปกติ ไม่สามารถพูดได้ เมื่อใช้ดนตรีบำบัดรักษาจะเคลื่อนไหวได้ (จากหนังสือสรุปภาพรอบครัว คอลัมน์เพื่อชีวิต โรงพยาบาลมิชชั่น เรียบเรียงโดย โรบิน สเกล)

8.ดนตรีช่วยให้คลายเคลียด นักจิตวิทยาชี้ว่า ผู้ป่วยร้อยละ 60-80 ที่มาพบแพทย์มีสาเหตุมาจากความเครียด และคนเราจะตอบสนองต่อความเครียดในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในวัยเด็ก และพื้นฐานทางอารมณ์ของแต่ละคน อาจารย์พิชัย ปรัชญานุสรณ์ ได้กล่าวถึงการนำดนตรีมาคลายความเครียดว่าเป็นหลักการทางธรรมชาติที่ทำให้คนเราเกิดความสุขใจได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นผลลบต่อสุขภาพ

เหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลที่อ้างอิงถึงผลประโยชน์ของดนตรี โดยเฉพาะเพลงประเภทคลาสสิค,ไลท์มิวสิค ซึ่งถ้าท่านสนใจคิดว่าดนตรีจะช่วยได้ก็ให้ลองเปิดฟังดูนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น