วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตรุษจีน


ตรุษจีน


ที่มาของวันตรุษจีน มักจะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม หรือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ คำภาษาจีน ที่คนจีนมักกว่าวว่า ซินเจียยู่อี่ ชินนี้ฮวดใช้ ภาษาถูกต้อง ซิงเจีย (ปีใหม่) ฮวกใช้ (เจริญ, งอกงาม,โชคลาภ)





การนับวันทำให้ตรุษจีนเคลื่อนไปตามเดือนต่าง ๆ ระหว่าง มกราคม-กุมภาพันธ์ ในรัชกาลที่ 3 ชาวจีนจะนำหมูเห็ดเป็ดไก่ถวายแด่ราชวงศ์เมื่อตรุษจีน จนรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้มีการสวดพระ 3 วัน และทรงทำเก๋งจีนในพระราชวัง “พระที่นั่งราชกิจพินิจ” โดยมีป้ายภาษาจีนเขียนและให้เป็นที่สถิตยพระสยามเทวาธิราช
วันตรุษจีน เราเรียกอีกอย่างว่าวัน “ชุนเจี๋ย”ซึ่งเป็นวันแรกในฤดูใบไม้ผลิและเป็นวันปีใหม่ของจีน

พิธีตรุษจีน
2 วันก่อนตรุษจีนเรียกว่าวันจ่าย เพราะจะซื้อหมูเห็ดเป็ดไก่มาเตรียมและทำความสะอาดบ้านให้เรียบร้อย ถัดจากวันจ่ายเป็นวันไหว้ ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายของปี มีการแจกอั่งเปา (แจกเงิน) แก่ลูก ๆ หลาน ๆ และจะรวมญาติพี่น้องมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ วันที่ 3 วันเที่ยว หรือเรียกวัน “ชิวอิก” แปลว่าวันที่ 1 ของปีใหม่ จะใส่เสื้อผ้าใหม่ หากใครทำงานในวันเหล่านี้จะถือว่าต้องมีความทุกข์ยากลำบากตลอดปี

การไหว้ในวันตรุษจีน (แบ่งเป็น 3 ประเภท )
ประเภทที่ 1 : ไหว้บรรพบุรุษและญาติผู้ใหญ่
ประเภทที่ 2 : ไหว้ตีจุ่ยเอี๊ย (ศาลเล็ก ๆ ที่วางบนพื้นบ้านคนจีนทั่วไป)
ประเภทที่ 3 : ไหว้ผีไม่มีญาติ และบรรดาเจ้าบุญนายคุณทั้งหลายเรียก “ห่อเฮียตี้”

ความหมายของอาหารวันตรุษจีน
1. ชุงไฉ่ (ผัดหมูสามชั้นกับผัก) ให้ความหมายว่ามีลูกหลานเต็มบ้าน

2. หมี่ซั่ว ซึ่งเป็นเส้นหมายถึงให้มีอายุยืนยาว

3. เต้าหู้ หรือเต้าฮวยเหลืองประทับตราแดงผัด หมายถึงการเป็นเจ้าคนนายคน

4. ส้ม ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคล

5. ขนมเข่ง : ต้นสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดทำพันธสัญญากับต่างประเทศชาวจีนเดิน ทางมาไทยราวเดือน 9-10 ของปี อาศัยลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพา ประมาณครึ่งเดือนก็ถึงสยาม คนออกทะเลจะนึ่งขนมเข่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนึ่งเก็บได้นานและอยู่ท้อง พร้อมนำฟักเขียวติดตัวมา เพราะต้มน้ำแกงดื่มแทนน้ำได้ เมื่อเรือแตกก็เป็นชูชีพได้ด้วย

6.การติดกระดาษที่เป็นชื่อหนังสือสิริมงคลในวันแรกของตรุษจีน



คริสตชนกับวันตรุษจีน
วันแรกเป็นวันไหว้จะมีการแจกเงินหรือเรียกว่า อั่งเปา จะมีการให้พร้อมส้ม 4 ลูก แสดงถึงความกลมเกลียว ผู้ใหญ่จะรับจากเด็กและคืนให้ 2 ลูก พร้อมให้อั่งเปา และลูกที่แต่งงานแล้วจะให้ผู้ใหญ่, จะมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ , ทำความสะอาดบ้านช่องให้เรียบร้อย

สำหรับ ความเชื่อคริสตชน : รับอั่งเปาได้ เพราะเป็นของขวัญวันตรุษจีนและการทำความสะอาดจะทำเมื่อไหร่ก็ได้ ญาติ ๆ จะมาอยู่รวมกันเป็นสิ่งที่ดี แต่คริสเตียนจะไม่เซ่นไหว้ ให้ท่านหาเรื่องไปช่วย จัดข้าวของต้อนรับรินน้ำเอาอกเอาใจผู้ใหญ่แทน แต่อย่าพูดโจมตีต่อต้านพิธี และหากสุดวิสัย บอกทางบ้านไปว่าเราเชื่อพระเจ้า ขอแสดงความกตัญญูแทน การไหว้เจ้า

แต่หากท่านต้องไหว้บรรพบุรุษ เพื่อแสดงความคิดถึง ก็ขอให้ท่านขออนุญาตแสดงความกตัญญู โดยการขอยืนหน้ารูปบรรพบุรุษและบอกว่าขอแสดงความเคารพแบบคริสเตียน คือ การยืนทำความเคารพ (แต่ไม่มีการจุดธูป) เป็นที่ระลึกและแสดงว่าเป็นผู้มีพระคุณเลี้ยงดูเรามา

วันที่ 2-3 และต่อจากนั้นจะให้มีการเที่ยวเตร่ พักผ่อน เป็นความเชื่อคือว่าหากใครทำงานวันตรุษจีนจะมีความทุกข์ ลำบากต้องตรากตรำทำงานทั้งปี สำหรับผมการทำงานเป็นสิ่งที่ดี และพระเจ้าก็ให้มีวันพักผ่อนเช่นกัน ไม่เกียวกับกรรม ความทุกข์ลำบากเกิดจาการแบ่งเวลาไม่ถูกต้อง ในการดำเนินชีวิต ความบาปทำให้ต้องตรากตรำทำงานหนัก เราเป็นคริสเตียนจีนก็เที่ยวพักผ่อนในวันตรุษจีนได้

ดังนั้น วันตรุษจีนเป็นเสมือนวันปีใหม่ เหมือนของไทยเราที่มีการเลี้ยงฉลอง การแจกเงินไม่เกี่ยวกับทางศาสนา แต่เป็นการอวยพร ให้ของขัวญกันและกันระหว่างญาติ เช่น ผู้ใหญ่จะให้เด็ก ๆ พ่อแม่พี่จะให้เด็ก ๆ ลูก ๆ ที่แต่งงานแล้วจะให้ผู้ใหญ่

การจุดประทัด แสดงความร่าเริงยินดี แต่บางคนเชื่อก็ถือว่าเป็นการไล่ผีสาง หากท้องถิ่นใดเชื่อว่าเป็นการไล่ผีสาง เราก็ไม่จุดไม่เล่น เพื่อไม่ให้เขาเข้าใจผิดได้

การรับประทานอาหารเซ่นไหว้รูปเคารพ มีคริสตชนเชื่อ 2 แนว
ความเชื่อกลุ่มแรกเชื่อว่าทานได้ โดยอ้างพระคัมภีร์ว่า
- อาหารทุกอย่างพระเจ้าทรงชำระแล้ว (1 ทธ.4: 3-5)
- ใครจะทานหากจิตสำนึกไม่ฟ้องก็ทานได้ (รม. 14: 14)
- เมื่ออยู่กับผู้มีความเชื่ออ่อนอยู่แล้ว แม้เขาไม่ทานเราก็จะไม่ยอมทานขณะนั้น (1คร.10:23-30) ไม่ให้เขาสะดุด


ความเชื่อกลุ่มที่ สองเชื่อว่าทานไม่ได้ โดยอ้างพระคัมภีร์ว่า
กิจการ 15: 20 ตอนนี้เป็นคำสั่งของอัครฑูตที่เป็นข้อคิดสำหรับชาวต่างชาติที่มาเชื่อพระเจ้าว่าถ้าเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ ให้หลีกเลี่ยง

สรุป หากผู้ที่ทานรู้ว่ามีผู้เชื่อว่าไม่ควรทานอยู่ด้วยก็ควรเลี่ยงไม่ทาน 1 คร. 10:23-33, โรม 14:1-4

ข้อคิด สำหรับครอบครัวที่รับประทานอาหารรูปเคารพ เมื่อเราต้องถูกบังคับหรือจำเป็นต้องทาน ให้เราอ่านเรื่องอานามานกับโรคเรื้อน ใน 2 พกษ.5

อานามานเชื่อศรัทธาในพระเจ้า แต่ขออนุญาตพระองค์ เมื่อเขาต้องอยู่ต่างชาติเขาต้องเชื่อฟังกฏหมายประเทศนั้น และต้องเข้าร่วมพิธีทางศาสนาอื่นด้วย จากตอนนี้ (2พกษ. 5:15-19 )

เราจึงพอทราบได้ว่า ถ้าเราพยายามที่จะหลีกเลี่ยง เราต้องใช้สติปัญญาจริง ๆ และประยุกต์ดัดแปลง แต่หากสิ่งไหนที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ เราจะปฏิเสธอย่างสุภาพและชี้แจงเหตุผลให้อย่างถ่อมใจ ควรหลีกเลี่ยงการปะทะ แต่ยอมถูกตำหนิดีกว่า

แหล่งอ้างอิง จากข้อคิด ผู้เขียนเป็นคนเชื้อสายจีน และได้นำหนังสือมาอ้างอิงประกอบการเขียน
1 ศิลปวัฒนธรรมไทย ( ก.พ.2537 )
2 จดหมายเหตุจากกรุงศรี ( 8 ก.พ. 2537 ช่อง 7 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น