วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 10 การปลุกจิตสำนึกที่หลับไหล

การปลุกจิตสำนึกที่หลับไหล

ตั้งแต่เราเกิดมา การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ ความอบอุ่น และการสัมผัส การถูกกระตุ้นด้านจิตสำนึก และที่สำคัญบรรยากาศ เสียงหัวเราะ การแสดงความรัก การถูกสอนว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ และการปูพื้นฐาน การฟูมฟักเรื่องจิตสำนึกในสิ่งที่ถูกผิด ควรพูดไม่ควรพูด ควรทำไม่ควรทำ จำเป็นต้องเริ่มขึ้น แต่ถ้าหากว่าเด็กคนนั้นเติบโตมากลับเป็นตรงกันข้ามก็เพราะว่าเขาหรือเธอไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้ และจะทำให้เมื่อโตขึ้นจิตสำนึกและการเติบโตในเรื่องความรู้สึกในด้านความดีชั่วผิดชอบหลับไป บางคนอาจหายไปแทบไม่เหลือความรู้สึกเหล่านี้ เมื่อพวกเขาโตขึ้นมา เขาไม่สามารถตอบสนองต่อเรื่องจริยธรรมหรือความรักที่ควรแสดงออกและรับได้ จะทำให้มีปัญหาในครอบครัวครับ

เราจะปลุกสร้างจิตสำนึกเรื่องอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การสื่อสาร บางคนคุยแล้วไม่สามารถแยกแยะให้รู้เรื่องได้ เช่น คุยแบบไร้อารมณ์ ตีความหมายผิดไปจากคนอื่น ๆ หรือการแสดงออกในด้านเพศที่ควรให้แก่สามี/ภรรยา เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องความรักไม่ใช่หน้าที่ อีกเรื่องคือด้านจริยธรรม จิตสำนึกดีชั่ว ด้านการแสดงออกด้วยความรัก ฯลฯ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะกล่าวละเอียดในบทต่อ ๆ ไป

จะแก้อย่างไรครับเมื่อมีอาการเหล่านี้ แน่นอนคนรอบข้างมักจะตำหนิเราในเรื่องซ้ำ ๆ เรื่องเดิม ๆ บ่อย ๆ และเราไม่หายจากอาการนี้ หรือเราเองสังเกตดูว่าทำไมความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่น ๆ มีปัญหา เราจะแก้โดยคุย บอก ปลุก สอน อ่าน ทำความเข้าใจกับมัน และสร้าง ปลุกส่วนที่หลับให้กลับคืนมาใหม่ หากเป็นคริสเตียนก็จะทำการบำบัดโดยการกอด สัมผัส จากเพศเดียวกัน จากผู้ทำบำบัด และอธิษฐานปลุกจิตสำนึกเหล่านั้นที่หลับให้ตื่นขึ้นมาครับ

สรุป พันธกิจการเยียวยามีอยู่สามเรื่องใหญ่ ๆ ที่เราทำกันคือ หนึ่ง การเยียวยาปลดปล่อย สอง การปลุก จิตสำนึกให้ตื่น และสุดท้ายการอธิษฐานตัดความสัมพันธ์ ตัดคำแช่งสาปจากบาปบรรพบุรุษ คำสาบาน ต่อพระต่อผี หรือต่อวิญญาณ วิธีการเหมือนเดิมคือ สารภาพบาป และอธิษฐานตัดความสัมพันธ์ และถวายตัวให้แก่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อว่าอำนาจต่าง ๆ จะถูกจัดการขับไล่ออกไป แล้วเราก็จะมีพลังอำนาจใหม่ คือความรักของพระเจ้าเข้ามาครอบครองเปลี่ยนแปลงและอวยพรแก่เราครับ

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 9 อะไรเป็นตัวบ่งบอกว่าเขาต้องการ

อะไรเป็นตัวบ่งบอกว่าเขาต้องการรับการบำบัดปลดปล่อย?

ง่าย ๆ สองข้อครับ ข้อแรก เขาเองเบื่อหน่ายปล้ำสู้กับนิสัยพฤติกรรมนั้นและอยากเปลี่ยน ลองถามสามี/ภรรยา คนในครอบครัว หรือผู้นำ ผู้ดูแล ที่บอกเราได้อย่างชัดเจนว่าเรามีนิสัยบางอย่างที่สร้างปัญหาในการดำเนินชีวิต ในการทำงานหรือไม่ เช่น นิสัยขี้บ่น ใจแข็งกระด้าง ควบคุมผู้อื่น หรือเป็นผู้สร้างแรงกดดันให้กับคนรอบข้าง

แต่ละคณะนิกายมีวิธีการบำบัดที่แตกต่างกัน และมีสำนักงานพันธกิจที่แน่นอนชัดเจน เช่น การช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูจิตใจที่มีชื่อเสียง ได้แก่ มูลนิธิของประวีณา หงส์สกุล หรือวัดที่ช่วยคนติดยาเสพติด หรือโรงพยาบาลประสาท โรงพยาบาลโรคจิต ในตอนนี้ไม่ได้หมายความว่าเราหรือท่านเป็นโรคจิตนะครับ แต่ผมกำลังจะบอกว่ามีหน่วยงานบำบัดมากมาย อาชีพนี้ในอเมริกาทำให้หมอร่ำรวยไปตาม ๆ กัน เพราะคนทั่วไปยอมจ่ายเงินเป็นรายชั่วโมง เพื่อที่จะระบายความรู้สึกให้กับผู้ให้คำปรึกษาหรือให้แก่นักจิตวิทยา ผมกำลังพูดในบริบทคริสตจักร ถ้าหากว่ามีสมาชิกหรือทีมผู้นำของเราที่เป็นแบบนี้ เราจะช่วยเขาได้อย่างไรล่ะ ลงวินัยพวกเขา หรือห้ามพวกเขา เขาก็จะแอบ ๆ ซ่อน ๆ มีชีวิตสองมุม หรือเราจะช่วยเขาด้วยความรักและแสดงความรักต่อเขาจะดีกว่าไหม เพราะพระเจ้าทรงสอนเราใน กาลาเทีย 6:1-5 ว่า “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย แม้จับผู้ใดที่ละเมิดประการใดได้ ท่านซึ่งอยู่ฝ่ายพระวิญญาณจงช่วยผู้นั้นด้วยใจอ่อนสุภาพให้เขากลับตั้งตัวใหม่ โดยคิดถึงตัวเองเกรงว่าท่านจะถูกชักจูงให้หลงไปด้วย จงช่วยรับภาระของกันและกัน ท่านจึงจะได้ปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระคริสต์ เพราะว่าถ้าผู้ใดถือตัวว่าเป็นคนสำคัญทั้ง ๆ ที่เขาไม่สำคัญอะไรเลย ผู้นั้นก็หลอกตัวเอง ทุกคนจงสำรวจการกระทำของตนเอง จึงจะมีอะไร ๆ ที่จะอวดได้ในตัว ไม่ใช่เปรียบกับผู้อื่น เพราะว่าทุกคนต้องรับภาระของตัวเอง”

เราจึงต้องสำแดงความรักและพระเมตตาจากพระเจ้าช่วยคนที่อ่อนแอกว่า หรือเราจะปล่อยคนตกน้ำทั้งที่ไม่มีกำลัง ปล่อยให้เขาจมดิ่งในบาดแผล หรือถูกครอบงำจนสุดท้ายเขาหลุดไปจากทางชอบธรรมครับ

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 8 การปลดปล่อยแตกต่างกับการเยียวยา

การปลดปล่อยแตกต่างกับการเยียวยาอย่างไร?

การปลดปล่อย คือ ปล่อยคน ๆ นั้นที่ถูกผูกมัดโดยการสาบาน หรือการผูกมัดด้วยวิญญาณ หรือเสพย์ติดบางเรื่อง จนไม่สามารถหลุดได้ เพราะการถูกผูกมัดนี้เองทำให้เขาผู้นั้นไม่มีอิสระจากวิญญาณจิต เพราะการครอบงำมันมีสามระดับ ระดับอ่อน ๆ คือ ครอบงำ เป็นสิ่งที่ครอบงำในสมอง เราต่อสู้กันกับความคิดในสมอง ระดับที่สองคือ ครอบครอง คือ นิสัยพฤติกรรมบางเรื่องครอบครองจิตใจความคิดหนักกว่าครอบงำ เช่น สามีหลายคนยอมทะเลาะกับภรรยา เพื่อจะได้ดูผลและเล่นการพนันตอนดึก ๆ ซึ่งต่างกับครอบงำ ครอบงำคือยังไม่ทำ คิดแค่ในสมอง สุดท้าย ระดับครอบครองเต็มที่ คือ ถ้าไม่ได้ทำจะทรมาน ถ้าไม่ได้ทำจะหงุดหงิดมาก สรุปคือ การเยียวยาเป็นการรักษาบาดแผลและอาการบาดเจ็บ ปลดปล่อย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถูกผูกมัด

บางคนต้องรับการปลดปล่อยและการเยียวยาคู่กันเลย เพราะชีวิตเหมือนเปลือกหัวหอมมีหลายชั้นซ่อนอยู่ข้างใน แน่นอนในการช่วยเหลือผู้ต้องการรับการปลดปล่อยนั้นต้องการทั้งการบำบัดและปลดปล่อย บางคนมีทั้งเรื่องบาดแผลที่พ่ายแพ้บาดเจ็บบวกกับถูกครอบงำในสมองความคิดด้วย ผู้บำบัดก็ต้องช่วยกันไปตามความเร่งด่วนหรือการสำแดงของอาการ เช่น เขาต่อสู้กับเรื่องใดหรือนิสัยนั้น ๆ ที่มีผลเสียต่อคนรอบข้างก็ต้องจัดการครับ

เยียวยาก่อนหรือปลดปล่อยก่อนก็ได้ เพราะไม่มีรูปแบบที่ดีที่สุด เราจะดูว่าสถานการณ์ตอนนั้น เราจะช่วยเขาในรูปแบบไหน เพราะบางคนเมื่อมีความเข้าใจเรื่องบำบัดปลดปล่อยและมีวินัยในการคิด ในการดำเนินชีวิต เขาก็มีอิสระทันที เพราะสภาพแวดล้อม ชีวิตจิตวิญญาณดี เขาอาจไม่ต้องรับการเยียวยาเลยก็ได้ ครับ

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 7 ความแตกต่างระหว่างการเยียวยากับ

ความแตกต่างระหว่างการเยียวยากับการปลดปล่อย

การเยียวยา คือ การรักษา สภาพจิตใจและจิตวิญญาณที่ชอกช้ำ ซึ่งถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ จิตใจ หรือร่างกาย และเนื่องจากการชอกช้ำและความบาดเจ็บที่ได้รับนั้น ทำให้หลายต่อหลายคนที่มีศักยภาพสูงแต่เขาไม่สามารถปลดปล่อยศักยภาพนั้นออกมาได้ เนื่องจากความเจ็บช้ำและความชอกช้ำของบาดแผลในจิตใจ

ทำไมเราต้องสนใจกับการเยียวยา? เพราะบาดแผลนั้น ๆ มีผลต่อการประพฤติในชีวิตประจำวันของเราแต่ละคน บางคนดำเนินชีวิตในความละอาย หรือต่อสู้กับตัวเอง เกลียดตัวเอง เพราะดูภาพตัวเองไม่น่ารัก ซึ่งเกิดจากผลของการกระทำของคนที่มีอิทธิพลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่การกระทำบางเรื่องก็ไม่มีผลต่อคน ๆ นั้น แต่สำหรับบางเรื่องก็มีผล เรื่องนี้เราสรุปคิดแทนหรือตั้งทฤษฎีขึ้นมาไม่ได้นะครับ สิ่งที่เรารู้มานั่นคือว่าบางคนไม่สามารถต้านทานต่อบาดแผลนั้น และบาดแผลนั้นได้ส่งผลออกมาทางความประพฤติ อารมณ์ และอาจส่งผลต่อครอบครัวและคนรอบข้าง โดยที่เขาก็รู้ตัวและอยากหายจากอาการเหล่านี้

มีหลายคนถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์และจิตใจอยู่เป็นประจำ เลยสร้างพฤติกรรมที่ปกป้องตัวเองขึ้นมา ถูกบ้างผิดบ้าง ส่วนนี้อยู่ที่แต่ละบุคคล เพราะหากบางคนมาจากครอบครัวหรือมีภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง สามารถอดทนต่อบาดแผลเหล่านี้ได้ก็ไม่มีผลต่อเขา แม้อาจมีบ้างก็มีน้อยมากเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ถ้าหากบางคนมาจากสภาพครอบครัวที่ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันแก่เขา ศักยภาพหรือเสรีภาพในตัวเขาก็จะถูกบาดแผลทำลายไปในแต่ละวัน จนต่อมาเขาจะกลายเป็นคนที่ไร้ศักยภาพ

ถ้าเราจะคิดแบบมนุษย์ ก็คือ แต่ละคนมีความเข้มแข็งไม่เท่ากัน งานของเราก็คือช่วยคนที่ไม่เข้มแข็งให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ หรือให้เขาเรียนรู้วิธีเยียวยา เพื่อต่อไปเขาจะสามารถไปช่วยลูก หลาน หรือเพื่อนที่อ่อนแอกว่าเขาได้ครับ

เราไม่ต้องรับการเยียวยาจริงหรือ – หลายคนคิดว่าทำไมเมื่อเชื่อพระเจ้าแล้วต้องรับการเยียวยา เพราะเมื่อเชื่อพระเจ้าแล้วพระองค์ก็ทรงจัดการชำระและนำความผิดบาปของเราไปที่กางเขนแล้ว แต่เราอย่าลืมว่าขณะที่เราดำเนินชีวิตไปในแต่ละวันนั้น เราต้องเจริญสู่ความเชื่อ เราต้องผ่านมรสุม เหมือนต้นไม้ที่เติบโตต้องโดนฝน โดนความร้อน โดนความหนาว โดนคนเดินเหยียบย่ำ โดนชนบ้าง เราจึงจำเป็นต้องจัดการด้วยการมีชีวิตใหม่ นิสัยใหม่ ค่านิยมใหม่ และรับสิ่งเหล่านี้จากพระวจนะพระเจ้า และรับการช่วยเหลือจากพระองค์ แต่บางคนไม่ได้เข้มแข็งแบบนั้น หรือมีตัวเร้าให้บาดเจ็บผ่านสถานการณ์ ผ่านคนรอบข้าง เขาอยากเป็นคนดี อยากมีใจบริสุทธิ์ อยากมีชัยชนะต่อเหตุการณ์เหล่านี้ สิ่งเดียวครับที่ช่วยได้ พันธกิจการเยียวยาก็เพื่อช่วยและสอนให้เขาปกป้องตัวเองได้

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 6 ยังมีคนที่ต้องการแสดงความรัก

หมวดเยียวยาปลดปล่อย ตอนยังมีคนที่ต้องการแสดงความรัก

ในคริสตักรของมาร์ก แซนฟอร์ด มีเด็ก ๆ หนุ่มสาวมากมายที่ไม่ได้รับความรักและการดูแลจากพ่อแม่อย่างเต็มที่ เด็กเหล่านี้หิวโหยมากครับ แต่ข่าวดีก็คือมีครอบครัวตายายสองคนในคริสตจักรของมาร์ก ท่านสองคนอยู่กันตามลำพัง ก็เหงาตามประสาตายายก็เลยเปิดบ้านให้เด็กหนุ่มสาวเหล่านี้ไปทำอาหาร ไปเล่นที่บ้าน ท่านก็ให้ความรักแก่เด็ก ๆ เหล่านี้ เด็กก็ให้ความรักแก่ท่าน เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญว่ายังมีคนอีกมากมายที่พร้อมจะให้ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข ชดเชยความรักในคริสตจักร ซึ่งท่านเหล่านี้อาจจะไม่เก่งในเรื่องทักษะ หรือการบริหารใด ๆ เลยครับ

การทำพันธกิจ การเยียวยา องค์ประกอบสำคัญคือ ความเชื่อร่วมกันทั้งหมดและสร้างบรรยากาศขึ้นมาให้คนที่มาคริสตจักรดำเนินชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติและไม่กลัวที่จะทำผิดพลาด หรือไม่กลัวที่จะเล่าเมื่อตนล้มลง เพราะเขารู้ว่ามีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งพร้อมที่จะอุ้มชูเขา พร้อมที่จะช่วยหนุนกำลังเป็นกำลังใจให้ ส่วนศิษยาภิบาลก็เป็นเหมือนคุณพ่อและผู้อาวุโส พี่น้องในคริสตจักรเหมือนพี่คนโตและพี่คนรองลงมา มีผู้ที่มีอำนาจในจิตวิญญาณสูงสุดคือพระเจ้า ดังนั้น จะทำอะไรก็คำนึงถึงและยำเกรงพระเจ้า พี่น้องเหล่านี้รู้ว่าเมื่อมาคริสตจักรแล้ว เขาจะได้รับกำลังใจใหม่และกลับไปสู้ได้อีกครับ

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 5 สถานที่ที่เขาจะรับการฟูมฟัก

หมวดเยียวยาปลดปล่อย ตอนสถานที่ที่เขาจะรับการฟูมฟัก

ตัวอย่าง หญิงสาวท้องโดยเด็กไม่มีพ่อ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ สถานที่ สังคมที่อยู่ หลายหน่วยงาน หรือ คริสตจักร ไม่มีบรรยากาศของการให้ ความรัก การดูแล และความเป็นธรรมชาติของครอบครัว จุดนี้สำคัญมาก ผมอยากจะเล่าเรื่องคริสตจักรของมาร์ก แซนฟอร์ด ซึ่งเป็นลูกชายของจอห์น แซนฟอร์ด ผู้เขียนและก่อตั้งศูนย์บำบัดเยียวยา

เรื่องมีอยู่ว่าหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของมาร์กรักกับผู้ชายที่ไม่เป็นคริสเตียน ต่อมาก็ท้อง ฝ่ายชายไม่ยอมรับเป็นพ่อ มาร์กได้ติดต่อกับฝ่ายชายพยายามช่วยให้เขารับผิดชอบและแต่งงาน และช่วยให้เขาเชื่อในพระเจ้าเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ชายหนุ่มคนนี้ก็ยังคงยืนกรานที่จะไม่รับผิดชอบ เมื่อหญิงสาวคลอดลูกออกมาก็กลายเป็นเด็กไม่มีพ่อ มาร์กเลยประกาศในคริสตจักรว่า ให้ผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วช่วยกอดช่วยสัมผัสเด็กคนนี้แต่อย่ายุ่งกะแม่นะครับ ให้เป็นตัวแทนแสดงความรักกับเด็ก ประกาศการมีตัวตนของเขา เพื่อเด็กจะได้รับความอบอุ่น โดยคนในคริสตจักรช่วยกันแสดงความรักทดแทน (Reparenting) เห็นไหมว่า บรรยากาศในสถานที่ที่เราอยู่เมื่อจะทำพันธกิจการเยียวยาก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 4 ทุกคนรับการรักษาให้หายได้หรือ

หมวดเยียวยาปลดปล่อย ตอนทุกคนรับการรักษาให้หายได้หรือ?


ไม่ครับ ผู้ที่จะหายมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความชำนาญของผู้ทำบำบัด เพราะความลึกในบาดแผลของแต่ละคนแต่ละเรื่องต่างกัน และผู้มีบาดแผลเองต้องอยากหายจริง ๆ รวมถึงวินัยใหม่ในชีวิตของผู้มีบาดแผลและตัวเร้าซึ่งจะนำไปสู่อาการที่ดีขึ้นหรือแย่ลง


เขาอยากหายจริงๆ หรือ? ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะผู้รับการบำบัดต้องมีอาการเบื่อหน่ายต่อพฤติกรรมนั้น อยากเปลี่ยน มีจุดแตกหักที่เขาต้องตัดสินใจว่าหากเขาไม่เปลี่ยน เขาก็จะอยู่ในสภาพที่ล้มเหลวสูญเสียต่อไป มีหลายคนนำผู้ที่ไม่อยากเปลี่ยน ไม่พร้อม ไม่เข้าใจมาหาผู้ทำบำบัด ปรากฎว่าเสียเวลาทั้งคู่ เพราะการบำบัดเกิดขึ้นจากการร่วมมือกันอย่างดีครับ


เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ต้องให้เขามีวินัยใหม่ มีความสม่ำเสมอ ลุกขึ้นทุกครั้งที่ล้มลง ไม่เบื่อหน่ายการเริ่มต้นใหม่ เพราะเขารู้ผลอันดีซึ่งเกิดขึ้นมาในภายหลังจากที่มีชีวิตใหม่แล้ว มันล้ำค่าจริง ๆ เขาจึงกล้าและอดทนจนถึงที่สุดในความพยายามนี้ด้วย

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 3 จะจัดการรากของแผลได้อย่างไร

หมวดเยียวยาปลดปล่อย ตอนจะจัดการรากของแผลได้อย่างไร

ตัวอย่าง เด็กที่เสพย์ติด

การจัดการกับบาดแผล เราต้องเข้าใจก่อนว่ามีรากก็ย่อมมีผล ทุกอย่างเกิดจากต้นตอคือราก หากเราจะจัดการกับต้นวัชพืชที่สกปรกในหน้าบ้านของเรา เราไม่ควรเอามีดฟันในส่วนของวัชพืชที่โผล่ออกมา หากเราต้องการจะจัดการกับมันอย่างราบคาบ เราต้องขุดรากมันออกมาและเอาไปเผาไฟครับ ไม่ใช่เอาไปฝังดินใหม่ เพราะมันอาจจะออกรากฝอยและรากแขนงเจริญเติบโตจนเป็นต้นใหม่ได้


บาดแผลของเราก็เช่นกัน ส่วนนี้อยากหนุนใจผู้ให้คำปรึกษาในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่มี บาดแผลหรือด้านบุคลิกภาพว่าเราต้องจัดการที่รากครับ ส่วนใหญ่เราจะตำหนิ ว่ากล่าวตักเตือน ลงวินัย แก่ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สิ่งที่เขาแสดงอยู่เป็นประจำนั้นอยู่ที่ราก ผมจะยกตัวอย่างให้เห็น เด็กคนหนึ่งที่ได้รับการเยียวยา ครั้งแรกเขาติดเหล้ามาก เราเลยสร้างวินัยใหม่แก่เขา เข้มงวดกับเขา พร้อมให้ความรักอย่างเต็มที่ ปรากฎว่าเขาดีขึ้นระยะหนึ่ง ต่อมาเรามารู้ว่าเด็กคนนี้เลิกเหล้า แต่แอบไปสูบบุหรี่และสูบจัดมาก เราก็เริ่มทำแบบเดียวกันเขาก็เลิกบุหรี่ แต่เขาแอบไปเล่นการพนันในสลัมที่เขาอยู่โดยเราไม่รู้มาก่อน จุดนี้จะเห็นได้ว่า จริง ๆ ต้องมีอะไรบางอย่างในจิตใจเด็กคนนั้นแน่ และเรามาพบอีกว่าเมื่ออยู่ต่อหน้าพวกเราเด็กคนนี้พยายามทำตัวให้เป็นคนดีไม่เสพย์ติดสิ่งทั้งปวง แต่ว่าลับหลังเขาแอบไปทำ เราพบว่าที่ผ่านมาเราแก้ที่ผลแต่ไม่ได้จัดการที่รากจริง ๆ


รากของเด็กคนนี้คืออะไร? เราจึงใช้เวลาคุย เปิดเผยให้ความรักกับเด็กวัยรุ่นคนนี้ เราพบว่าจริง ๆแล้วเวลาที่เขาอยากไปเสพย์ติดสิ่งเหล่านี้ คือเวลาที่เขาเหงา ความเหงาหรือรากมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? จากการทำการเยียวยาสอบถามวิถีชีวิตในวัยเด็กคือเด็กคนนี้ไม่มีพ่อแม่ที่ให้ความอบอุ่น สัมผัส ชมเชย หรือแสดงความรัก และสังคมที่เขาอยู่คือสลัม เมื่อเขารู้สึกว่าเขาต้องการที่จะหาอะไรมาชดเชยความเหงาได้ เขาก็จะหาอะไรเสพย์ติดเพื่อชดเชยอารมณ์นั้นไป และเราก็พบจุดที่ต้องช่วยเหลือเด็กคนนี้จริง ๆ คือ ท้าทายเขาให้กล้าจะมีชีวิตใหม่ หาจุดชดเชยใหม่ โดยการให้เขาทำบางสิ่งและผู้ทำการบำบัดก็หาผู้ใหญ่ที่อดทน มีความรัก แสดงความรักแก่เด็กคนนี้อย่างเหมาะสมเพื่อชดเชยวัยเด็ก โดยเฉพาะพลังกลุ่มที่จะช่วยกันมอบไมตรีจิตและแสดงความรักอย่างเหมาะสม และที่สำคัญที่สุด คือ ให้เขารู้จักความรักของพระเยซูคริสต์ที่เขาสามารถรับได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมากกว่าความรักของมนุษย์ เป็นความรักที่เหนือจะบรรยายได้ เราต้องท้าทายและสอนเด็กคนนี้ให้ได้รับและรู้จักกับความรักของพระเจ้าวันต่อวัน ผ่านการสั่งสอน ผ่านชีวิตที่สัมพันธ์กับพระเจ้าครับ


จากเรื่องของเด็กคนนี้ เราคงเห็นแล้วว่าเราต้องหาสาเหตุของพฤติกรรมนั้นและทำความเข้าใจก่อน เพื่อจะจัดการรากที่แท้จริง ซึ่งมีเรื่องตัวอย่างมากมายครับ แล้วเราจะกล่าวในตอนอื่น ๆ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องการเปลี่ยน และความรักของพระเจ้าเข้ามาชดเชยทดแทนได้ทั้งหมด โดยฤทธิ์อำนาจของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่แก้ไม่ได้ครับ เพราะพระองค์ทำได้ทุกสิ่ง

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 2 การจัดการกับบาดแผล

หมวดเยียวยาปลดปล่อย ตอนการจัดการกับบาดแผล


เราจะยอมให้บาดแผลมีอิทธิพลต่อชีวิตของเราหรือ ชีวิตของเราทุกคนต้องการเป็นคนที่มีชัยชนะ เราต้องการที่จะอยู่อย่างมีความสุขสงบกับทุกคน อยากเป็นคนปกติทั่วไปที่ชื่นชมกับชีวิต มีความภาคภูมิใจ มีความอบอุ่นกับครอบครัว และสนุกสนานกับงาน แต่ว่าบาดแผลเป็นตัวขัดขวางสิ่งเหล่านี้ และผลที่เกิดขึ้นคือการทำลายมากกว่าความสุข ทำให้สูญเสียมากกว่าได้รับ เราต้องตัดสินใจสู้กับมันดีกว่าให้มันครอบงำเรา


เรามีชีวิตเพื่ออนาคต เราเลือกเกิดไม่ได้แต่เราเลือกจบดีได้ เราไม่อาจปฎิเสธบาดแผลที่เกิดขึ้นกับเรา แต่เราสามารถขจัดมันออกไปและปล้ำสู้กับมันเพื่อสิ่งใหม่ที่ดีกว่าได้ เพราะเราจะไม่จมอยู่กับบาดแผลนั้น ๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ


ประการแรก เราจะไม่เอาบาดแผลมาเป็นข้ออ้าง เพื่อปล่อยให้เราใช้ชีวิตไปเลยตามเลย เราจะสู้กับมัน ยอมเปลี่ยนตัวเองแม้ต้องฝืน เหมือนกับคนที่เดินไม่ได้มาหลายปี เขาต้องฝึกกายภาพบำบัด ฝึกการเดินใหม่ เขาต้องปล้ำสู้ต้องฝืนกับการไม่ได้เดินมานาน ต้องทนเจ็บต้องมีใจเด็ดเดี่ยวและก้าวเดินไป เมื่อเรารู้ว่ามีเหตุการณ์ใดที่นำเราไปสู่พฤติกรรมซ้ำรอยเดิม เราจะสู้เราต้องฝืนไม่คิดไม่ทำไม่คล้อยตามเด็ดขาด จนเป็นธรรมชาติใหม่ของเรา


ประการต่อมา เราต้องเลือกที่จะลุกขึ้นใหม่ คนลุกขึ้นใหม่ด้วยสภาพตุปัดตุเป๋ ย่อมดีกว่าคนยอมนอนตายคาสภาพที่พ่ายแพ้ ก็เหมือนกับนักมวยที่เขาตั้งใจจะชนะให้ได้ แม้โดนน็อกครั้งแล้วครั้งเล่าบนเวที แต่ถ้ายังมียกต่อไปให้แก้ตัว เขาก็จะลุกขึ้นมาสู้ เพราะเขาต้องชนะให้ได้ แต่เราทุกคนมีตั้งหลายยกให้ต่อสู้ทั้งชีวิตนะครับ ในเมื่อล้มไปแล้วขอให้กล้าที่จะลุกขึ้นสู้กับมันใหม่


ประการนี้สำคัญ คือ การให้กำลังใจตัวเอง จำไว้ว่าเราเกิดมาเพื่อเปลี่ยน ทุกวันนี้รอบข้างเรามีแต่การเปลี่ยนแปลง อดีตเปลี่ยนไปแล้ว บาดแผลในวันนั้นเราจะไม่ให้มามีผลต่อเราในวันนี้ เพราะเราจะร่วมเปลี่ยนแปลงไปกับโลกที่พระเจ้าสร้างสรรค์ขึ้นมา ก็เหมือนกับคนก่อปราสาทอันยิ่งใหญ่ท่ามกลางที่ดินอันรกร้างว่างเปล่า เขามีนิมิตว่าวันหนึ่งสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นปราสาท แต่ต้องเริ่มต้นจากอิฐก้อนแรกก่อนครับ เมื่อเริ่มจากอิฐก้อนแรกที่ตรากตรำ ผ่านฝน ผ่านความร้อน ก็จะกลายมาเป็นปราสาทที่ร่มเย็นได้ เพราะถ้าหากเราเปลี่ยนคนรอบข้างก็จะเปลี่ยน


ประการสุดท้าย คือ กล้าเปลี่ยนแปลงนิสัยใหม่เหมือนนักเล่นกล้าม เขาฝึกเล่นกล้ามจนกล้ามเนื้อแข็งแรงและมีรูปร่างใหม่ แต่ต้องผ่านความเจ็บปวดท่ามกลางความหวัง การมีวินัย ความพยายาม และท่ามกลางความฝันว่าสักวันเขาจะเปลี่ยนแปลงร่างกายเขาได้ เขาควบคุมมันจนอยู่มือ และสำเร็จในที่สุด เราจะเปลี่ยนโดยการสร้างนิสัยฝืน ไม่ทำแบบเก่าที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และทำให้เราแย่ไปกับนิสัยนั้น จงปล้ำสู้ มีความใฝ่ฝัน มีนิมิตว่าเราจะเปลี่ยนและเราควรเปลี่ยน เพราะเราสามารถเปลี่ยนได้ เพราะทั้งหมดอยู่ที่เรา

หมวดเยียวยาปลดปล่อย-ตอนที่ 1 อะไรคือบาดแผลที่ต้องจัดการ

หมวดเยียวยาปลดปล่อย ตอนอะไรคือบาดแผลที่ต้องจัดการ

บาดแผลเกิดขึ้นได้อย่างไร? บาดแผลเกิดขึ้นได้โดยการถูกล่วงละเมิดทางด้านอารมณ์ ความคิด ร่างกาย การสูญเสียสิทธิ์ การถูกล้ำเส้นเกินขอบเขตที่เราควรได้รับ หรือขาดจากมาตรฐานที่ควรจะเป็น ไม่ใช่ทุกการกระทำจะทำให้เกิดเป็นบาดแผล แต่ถ้าหากเราถูกกระทำบ่อย ๆ ทั้งในตอนเด็กและตอนโต บางเหตุการณ์อาจมีผลต่อเราได้ ในเหตุการณ์เดียวกันอาจทำให้คนหนึ่งบาดเจ็บ แต่อาจจะไม่มีผลต่ออีกคนก็ได้ เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่ามาตฐานอยู่ที่ตรงไหน หรืออยู่กับใคร แต่เรารู้ว่าบาดแผลจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับวัยเด็ก เพราะในวัยเด็กเราไม่มีเหตุและผล ไม่มีกลไกในการป้องกันตัวเอง ระบบการป้องกันตัวเองของเด็กยังไม่แข็งแรงเท่ากับคนที่เป็นผู้ใหญ่ แต่ถ้าผู้ใหญ่คนนั้นเติบโตขึ้นมาโดยมีพื้นฐานทางโครงสร้างด้านความคิดและอารมณ์ไม่แข็งแกร่งก็ง่ายต่อการมีบาดแผล และเจ็บปวดกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายเช่นกัน

อาการของการมีบาดแผล การมีบาดแผลทำให้เราอดทนต่อบางสิ่งบางอย่างไม่ได้เหมือนคนอื่น เช่น เป็นคนขี้น้อยใจ เป็นคนคิดมาก หวาดระแวง ไม่แสดงความรัก ไม่กล้าที่จะรัก เป็นคนเข้มงวด เป็นคนที่มีปัญหากับทุกที่ในการทำงาน หรือกับคนในครอบครัว บางคนมีปัญหาเฉพาะกับบางคน เช่น กับคนที่มีสิทธิอำนาจเหนือกว่า บางคนไม่สามารถใช้ศักยภาพบางส่วนออกมาอย่างเต็มที่ มีบุคลิกภาพที่ซับซ้อน ผมจะสรุปง่าย ๆ คือ อยู่ที่ไหนมีปัญหาที่นั่น หรือมีปัญหากับครอบครัวด้วยอาการซ้ำ ๆ และต่อสู้กับตัวเองอยู่บ่อย ๆ โดยไม่รู้สาเหตุ อยากเลิกก็เลิกไม่ได้ง่าย ๆ เหมือนคนอื่น บางเรื่องก็เลิกง่ายเหลือเกิน บางเรื่องอยากจะเลิกก็เหมือนเราไปจุดไฟให้มันมีมากขึ้นครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หมวดเพลงนมัสการ-Dance with me



Dance with me: Paul Wilbur

Dance with me
O lover of my soul
To the song of all songs
Romance me
O lover of my soul
To the song of all songs

Behold You have come
Over the hills
Upon the mountains
To me You have run
My beloved
You've captured my heart
With You I will go
You are my love
You are my fair one
Winter is past
And the springtime has come
Dance with me

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หมวดเพลงนมัสการ-Here I am to Worship



Here I am to Worship

Intro: E - B - F#m7 - E - B - A2

E B F#m7
I. Light of the world You stepped down into darkness
E B A2
Opened my eyes let me see
E B F#m7
Beauty that made this heart adore You
E B A2
Hope of a life spent with You

E B/D#
Chorus: Here I am to worship Here I am to bow down
E/G# A
Here I am to say that You're my God
E B/D#
You're altogether lovely Altogether worthy
E/G# A2
Altogether wonderful to me

E B F#m7
II. King of all days Oh so highly exalted
E B A2
Glorious in heaven above
E B F#m7
Humbly You came to the earth You created
E B A2
All for love's sake became poor

B E/G# A
Bridge 1: I'll never know how much it cost
B E/G# A
To see my sin upon that cross

E B C#m A
Bridge 2: Call upon the Name of the Lord and be saved
E/G# Bsus B C#m A
Call upon the Name of the Lord and be saved

หมวดการบำบัด-ตอนที่ 20 วินัยใหม่ พลังความคิด ตอนความรู้สู้ปัญญาไม่ได้

วินัยใหม่ พลังความคิด
ตอนความรู้สู้ปัญญาไม่ได้

ความคิดของเราก็เหมือนกล่องเปล่า ๆ เล็ก ๆ หากเราเอาทรายใส่ลงไปในกล่อง แล้วเทน้ำลงไปในกล่องทราย น้ำก็จะซึมลงและหายไป หากเราวางรากฐานโดยเอาดินเหนียวใส่ลงไปในกล่อง เวลาเอาน้ำเทลงไปมันก็จะจับตัวเป็นก้อน เอามานวดปั้นเป็นรูปอะไรก็ได้ เพราะดินเหนียวจะทำปฎิกริยากับน้ำทำให้แข็งตัวเหมือนกัน หากเราเอากรวดใส่ในกล่องนั้น เวลาเทน้ำลงไปน้ำก็จะแยกกรวดกับน้ำไม่ผสมผสานกันได้ เพราะมันเป็นสะสารคนละชนิดกัน

หากความคิดเราเป็นทรายละเอียดอ่อน หากมีเรื่องราวอะไรที่ดีและไม่ดีมา มันก็ซึมเข้าไปในความคิดหมด เราก็รับไปหมด สุดท้ายก็วุ่นวาย แต่หากเราเอาดินเหนียวใส่ เมื่อเจอน้ำก็เกิดการผสมผสานกันปั้นเป็นรูปทรงอะไรสักอย่างก็ได้ หรือหากเป็นหินก็ต่างก็อยู่กันในกล่องแต่ไม่เกิดประโยชน์ออะไรเลย ต่างก็เป็นขยะที่รกสมองรกความคิดทั้งคู่ ด้วยเหตุนี้เอง เราต้องมีฐานข้อมูลที่ดีใส่ลงไปในสมอง สิ่งนั้นก็คือความรู้และปัญญา (ดินเหนียว)

ความรู้ต่างกับปัญญาอย่างไร? หลายคนมีความรู้ท่องได้ อ่านแล้วมาหลายตำราหลายเล่ม หลายสัมนา รอบรู้หมด แต่คนมีปัญญาคือ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ ใช้ นำไปปฎิบัติได้อย่างช่ำชอง พลิกแพลงให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและช่วยเหลือผู้อื่น คนมีความรู้อ้างอิงตำราต่าง ๆ ได้ แต่คนมีปัญญาประยุกต์วิธีการนำไปใช้ได้ ก็คือคนมีความรู้คือความฉลาดอยู่ที่สมอง แต่คนมีปัญญาคือคนมีความเฉลียวมีไหวพริบ อยู่ที่เซนส์และประสบการณ์

แต่ความรู้กับปัญญาต้องไปด้วยกัน บางคนมีปัญญาช่างคิด เก่งเรื่องคิด แต่ไม่มีฐานข้อมูลในเรื่องความรู้ ก็คิดได้ตามปัญญาแคบ ๆ บางคนมีความรู้มากแต่ไม่มีการใช้ปัญญา ก็ได้ใช้ความรู้อย่างแคบ ๆ เหมือนกัน สรุปคือเราจะมีปัญญามากแค่ไหนก็เท่ากับฐานความรู้มากด้วยครับ

เราจำเป็นต้องมีความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจทางความเชื่อในชีวิตคริสเตียนที่ถูกต้อง ความรู้เรื่องพระเจ้า จริยธรรมจากพระคัมภีร์ไบเบิล ผ่านทางคำสอนของผู้นำคริสตจักรในวันอาทิตย์ ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องที่ง่ายดาย จงแสวงหาเพราะอยู่ที่ใจของเราต่างหากจะหิวกระหายมากน้อยแค่ไหน เพราะในความคิดของเรา จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลความรู้ที่ถูกที่สุด คือ พระคำพระเจ้าครับ

“สภษ18: 15 ใจที่มีความคิดย่อมหาความรู้ และหูของปราชญ์แสวงความรู้.”

การแสวงหาปัญญาเพื่อความกระจ่าง ความเข้าใจในความรู้ หลายคนมีความรู้แต่ไม่มีปัญญา แล้วเราจะมีปัญญาได้อย่างไร

การมีปัญญาเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ขยายความรู้เอาความรู้จากที่มีมาขยายความรู้จากอีกที่ที่รับ หรือจากการได้ฟังพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์ ผู้ที่เคยทำปฎิบัติมาก่อน หรือเกิดจากประสบการณ์ของเราเอง ที่ได้พบ สะสมมาก ๆ ยิ่งขึ้น จนเกิดจากความเข้าใจ ดังนั้น เราจะให้ความรู้งอกงามจนเป็นปัญญาได้นั้น มีปัจจัยหลายทางครับ ส่วนสำคัญที่สุดคือการฟัง การได้ทำ และการได้เรียนจากผู้รู้ที่รู้มากกว่า

สภษ 14: 33 ปัญญาอาศัยอยู่ในความคิดของคนที่มีความเข้าใจแต่ปัญญานั้นไม่ประจักษ์ในใจของคนโง่

สภษ18: 2 คนโง่ไม่เพลิดเพลินในความเข้าใจ แต่เพลิดเพลินในการแสดงความคิดเห็นของตนเท่านั้น

เมื่อเรามีฐานข้อมูลทางความคิดแล้ว คือ ความรู้และปัญญา ตอนนี้เมื่อเราคิดอะไร ก็เป็นความคิดที่มาจากปัญญา เราก็จะมีความคิดที่ไร้ความสับสนวุ่นวาย ไร้ไวรัส ไร้ความมืด ความสกปรก และความไม่สงบ เพราะเรารู้ว่าอะไรคือพิษในความคิด อะไรคืออาหาร อะไรคือสิ่งที่ควรคิดเพื่อชัยชนะครับ



หมวดการบำบัด-ตอนที่ 19 วินัยใหม่ พลังความคิด ตอนหัดคิดทีละเรื่อง

วินัยใหม่ พลังความคิด

ตอนหัดคิดทีละเรื่อง

คิด ทีละเรื่องแล้วเอามาผนวกผสมผสานกัน อย่าเพิ่งคิดทีเดียวทุกเรื่องพร้อม ๆ กัน เพราะหากเราไม่มีทักษะในความคิด เราจะมึนงงและสับสนในตัวเราเองในที่สุด เราลองมาดูคนเล่นกระดานหมากรุก หรือหมากฮอร์ส เขาเหล่านั้นแม้เป็นอัจฉริยะ แม้คิดเดินในใจไว้ล่วงหน้าไปแล้วทีละหลายตัว แต่อย่างไรเขาก็ต้องตัดสินใจ คิดที่จะเดินทีละตัว คือตัวที่จำเป็นที่ต้องเดินขณะนั้นเพื่อชัยชนะในที่สุด และครั้งต่อไปเขาต้องเดินตัวไหน อย่างไร ก็ต้องตัดสินใจเดินได้ทีละตัว ในกฎการเล่นผู้เล่นจะต้องเดินทีละตัวครับ แต่ในใจเขาความสามารถเดินล่วงหน้าทีละหลายตัว ตามความสามารถของสติปัญญาของผู้เล่น แต่กฎพิ้นฐานของเรา คือ เดินทีละตัว

ฝ่าย ตรงกันข้าม (มาร ความชั่วร้าย )ไม่ได้เดินหมากตามอารมณ์มั่ว ๆ แต่มันมีแผนงาน วางแผนอย่างเป็นระบบขบวนการ และเราจะเดินระบบความคิดตามอารมณ์ไม่ได้ ไม่ใช่อยากเดินตัวไหนก็เดินตามอารมณ์โดยปราศจากแผนความคิดเป็นขั้นเป็นตอน เป็นเหตุเป็นผล ความชั่วร้าย มาร มีเป้าหมายเดียวคือ ให้เราแพ้แบบลุกไม่ได้ แพ้อย่างราบคาบและไวที่สุด ดังนั้นการเดินด้วยอารมณ์และมั่ว ๆ จึงไม่ใช่วิธีการทางความคิดของเราผู้ต้องการชัยชนะ

มาร มีพรรคพวก ทำเป็นทีมงาน มีวัสดุอุปกรณ์แหล่งอบายมุขครบมือ เราซึ่งต้องการมีชัยชนะเหนือความพ่ายแพ้ จะเอาชนะมันได้ก็ต้องมีทีม คือผู้ที่เชื่อเหมือนเรา เพื่อนผู้ให้กำลังใจ และเคียงข้างยามล้มลง เราต้องคิดเป็นระบบ คิดเอาชนะทีละเรื่อง คิดวีธีที่จะเอาชนะด้วย ไม่ใช่ไหลไปตามน้ำตามอารมณ์ และที่ดีที่สุดที่ปรึกษาที่มีชัยชนะ ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบกาณร์ เราควรขอคำปรึกษาจากท่านเหล่านั้น อ่านวรรณกรรม ที่รวบรวมประสบการณ์ของผู้ที่ชนะ

จงจำไว้ ช่วงปีนขึ้นภูเขาจะลำบาก แต่เมื่อถึงปลายยอดเขาแล้ว ท่านจะได้สูดอากาศสดชื่นและมองเห็นวิวทิวทัศน์อันสวยงาม

การ เดินขึ้นภูเขามีเคล็ดลับคือก้าวสั้น ๆ ทีละก้าวโดยเฉพาะทางชัน ก็จะปลอดภัยและไปสู่จุดหมายอย่างแน่นอน เหมือนคิดทีละเรื่อง และหลังจากนั้นเริ่มเอามาผนวกผสมผสานกัน ว่าสิ่งไหนดีที่สุดและเป็นน้ำพระทัยพระเจ้า ครับ แล้วท่านจะได้ไม่สับสน กลัวตัดสินใจคิดผิด

หมวดการบำบัด-ตอนที่ 18 วินัยใหม่ พลังความคิด ตอนจราจรทางความคิด

วินัยใหม่ พลังความคิด

ตอนจราจรทางความคิด


เราลองมาคิดดู จราจรในกทม.โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนตอนเช้า ๆ ช่วงโรงเรียนเปิด ระบบไฟจราจรแทบจะช่วยไม่ได้ เพราะ มีคนขับรถบางคนมักง่าย คิดว่าตัวเขาแต่ละคนมีความจำเป็นต้องไปให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน เลยทำให้ขับแซง ขับเลยเส้น ขับเร่ง ๆ ไม่สนใจคนอยู่คันหน้า หรือคนที่ตามมา ด้วยเหตุนี้เอง สิ่งที่ช่วยได้คือไฟจราจร ไฟเขียว ไฟเหลือง ไฟแดง แต่กระนั้น สำหรับกรุงเทพฯ ก็ยังต้องพึ่งเจ้าหน้าที่จราจร เพราะคนขับบางคนยังไม่เชื่อฟังและเดินตามสัญญาณไฟจราจร แต่หากไม่มีไฟสัญญาณญาณจราจร ตำรวจจราจรคงเหนื่อยกว่านี้ ผมจะเปรียบเทียบระหว่างไฟจราจร ก็คือ ข้อระวังในการคิด ตำรวจจราจรก็คือ คนที่มีอำนาจฝ่ายจิตใจของเรา ที่หลายครั้งเราไม่เดินตามไฟจราจรในความติด ต้องให้จราจรฝ่ายวิญญาณมาจัดการห้ามปรามเรา เพราะบางเรื่องในความคิดของเราต้องเดินหน้า เราต้องหยุด หรือต้องรอไว้ก่อน แต่เราไม่มีกำลังจะทำตาม หรือเราอยากทำตามอารมณ์ ตำรวจจราจรเลยต้องเข้ามาช่วยเรา เพื่อเราจะได้ไม่วุ่นวายครับ เรามาดูหลักการไฟ จราจรด้วยกัน


ไฟแดง ห้ามคิด ความคิดไม่นำไปสู่ความสว่าง ไม่สะอาด ไม่สงบ

ไฟเหลือง อย่าเพิ่งคิดตอนนี้ เก็บไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเลา ยังมีเรื่องเร่งด่วนกว่า

ไฟเขียว คิดได้ คิดทีละเรื่อง เราจะมาพูดในบทต่อไป


นี่เป็นวินัยง่าย ๆ ในการคิด ซึ่งเอามาเป็นหลักประจำใจในการคิด หากท่านไม่มีกำลัง เป็นคนเดินตามอารมณ์ อ่อนแอ พ่ายแพ้ บางเรื่องง่าย ๆ ท่านจำเป็นต้องมีตำรวจจราจรที่พร้อมจะช่วยเหลือท่าน

ในชีวิตท่านควรหาผู้ใหญ่สักคน ที่เตือนสอนท่านได้ หรือผู้ที่มีอำนาจทางจิตใจของท่าน ที่จะหยุดความคิด การกระทำบางอย่าง ที่นำไปสู่การฝ่าไฟแดงได้ ซึ่งเราจะเห็นว่าเรื่องนี้ ควรขอพระเจ้า ประทานให้ท่านสักคนสองคน เป็นเพื่อนการต่อสู้ต่อไป แต่หากหาไม่ได้ ให้อัญเชิญพระเยซูคริสต์เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยท่านครับ เพราะพระองค์ไม่เคยปฎิเสธใครเลย

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หมวดการบำบัด-ตอนที่ 17 วินัยใหม่ พลังความคิด ตอนไวรัสทางความคิด

วินัยใหม่ พลังความคิด

ตอนไวรัสทางความคิด

ความสับสน เกิดขึ้นจากการไม่รู้ว่าจะคิดอย่างไร ทำอย่างไร อะไรที่เป็นมาตฐาน ขอบเขตอยู่ที่ไหนตรงไหน ระดับไหนจะถือว่าถูก อยู่ที่ระดับไหนถือว่าผิด เอาอะไรเป็นมาตรฐาน ตอนนี้ผมจะยกตัวอย่าง เรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน

ประการแรก เราต้องมีฐานข้อมูลที่ถูกในความคิดและจิตใจของเราก่อน เหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมหลักเพื่อปฎิบัติการ และโปรแกรมป้องกัน เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์และไวรัส เมื่อเราใส่โปรแกรมผีที่มักซ่อนสปายแวร์หรือไวรัสเข้าไป มันจะฟ้อง ป้องกัน และไม่ยอมรับโปรแกรมเหล่านี้ให้เข้าไปทำงานในคอมพิวเตอร์ของเราได้ แล้วโปรแกรมหลักและโปรแกรมป้องกันนี้คืออะไร

สภษ12:8 คนจะได้คำชมเชยตามสามัญสำนึกที่ดีของเขา แต่คนที่ความคิดตลบตะแลงก็เป็นที่ดูหมิ่น พระวจนะตอนนี้สอนเราว่า สามัญสำนีกที่ดีนำสู่การประพฤติที่ดี แล้วหากประพฤติดีก็จะมีผู้ชมเชย จากผลการประพฤตินั้น การประพฤติที่ดีเกิดจากสามัญสำนึกที่ดีในชีวิต เราจะสร้างสามัญสำนึกที่ดีได้อย่างไร

มีสามทางครับ มีวิธีสร้างง่าย ๆ คือ เราต้องมีความคิดสว่าง คิด สะอาด คิดสงบ

คิดสว่าง คือ สิ่งที่ท่านคิดนั้น เมื่อท่านนำความนั้นมาเล่าในความสว่างใครก็รับได้ สามารถเอามาพูดแล้ว คนไม่สะดุด ไม่ตกใจ ไม่อับอาย ไม่ผิดต่อคุณความดี คุณธรรม ความสว่างคือความดี ความมืดคือความชั่ว สิ่งใดที่แอบทำในความมืด แอบคิดในความมืด หลบ ๆ ซ่อน ๆ ไม่ถือว่าคิดแบบคนมีความสว่าง

คิดสะอาด คือ คิดเรื่องสะอาดไม่สกปรก ลามก ไม่ผิดศีลธรรม หรือกฎหมาย คิดแล้ว ไม่ต้องมาสารภาพบาป หรือละอายใจทีหลัง เล่าให้ใครฟังก็ไม่ต้องกลัวว่าผู้คนจะดูถูกดูหมิ่นในความนี้

คิดสงบ คือ เรื่องที่คิดแล้วหากใครได้ยิน ใครรับฟังความคิดของเราแล้ว ก็เกิดความสงบ ไม่เดือดร้อนเป็นไฟให้เกิดความวุ่นวาย และที่สำคัญตัวเราคิดแล้วเราก็เกิดความสงบสุขในใจ เล่าเรื่องนี้แล้ว ทุกคนสบายใจ สงบสุข แบบนี้ต้องหาทาง และฝึกเรียนรู้ครับ

เห็นหรือยังครับ หากเรามีมาตฐานทางความคิดแล้ว อะไรที่กำลังคิด มันไม่สว่าง ไม่สะอาด ไม่สงบ เราก็ไม่คิด เราก็มีมาตรฐานเดียว ในการคิดก็จะง่าย ต่อการตัดสินใจ เลือกที่จะทิ้ง หลายต่อหลายเรื่องที่มันแวะมาเยี่ยมในสมองของเรา จำไว้ อย่ารับแขกแปลกหน้าที่ไม่ได้เชิญ ที่ไม่สว่าง ไม่สะอาด ไม่สงบ

หมวดการบำบัด-ตอนที่ 16 วินัยใหม่ พลังความคิด

วินัยใหม่ พลังความคิด
ตอนการป้องกันความคิดสับสน

“สภษ 27: 19 ในน้ำ คนเห็นหน้าคนฉันใด ความคิดของคนก็ส่อคนฉันนั้น”

ขอให้สังเกตว่าเรามักจะเห็นคำว่า “ใจคิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น” หรือ “เราคิดอย่างไร ใจก็เป็นอย่างนั้น” หรือคำว่า “คิดในใจ” หรืออีกคำ “ใจคิดอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น” สังเกตุ คำว่า ใจกับความคิดมักเชื่อมโยงติดกันเสมอ และโดยธรรมชาติของเราก็มักทำในสิ่งที่คิดไว้ในใจ

ใน ตอนนี้เราไม่มานั่งหาเหตุผลทางวิชาการหรือทางจิตวิทยาละครับในเรื่องความคิด กับใจ แต่เราจะมาคุยกันในเรื่อง การเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างใจกับความคิด และจะแก้ไขปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างไร?

ผม จะยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีกสักเรื่อง เช่น หากใจเราเกลียด ความคิดก็คิดเกลียดตาม หรือหากใจเรารัก เราก็คิดรักตาม แต่ทางกลับกัน หากเราคิดเกลียด ใจก็ปะทุอารมณ์อยากจะด่า ฆ่า ทำร้าย แต่หากความคิดจะรัก ใจของเราก็มีอารมณ์ร่วม รัก คิดหาทางทำอะไรบางอย่างเพื่อคนคนนั้น โดยวางแผนงานกับความคิดด้วยเช่นกัน

พลังความคิดสำคัญมาก หากความคิดสับสน ใจก็สับสน หากความคิดวุ่นวาย ใจก็วุ่นวาย และถ้าหากความคิดวิปริต ใจก็วิปริต ความคิดไม่เป็นระบบระเบียบ ใจก็ไม่เป็นระบบระเบียบ ความคิดไม่เป็นผู้ใหญ่ ใจก็ไม่โตเป็นผู้ไหญ่ หรือคำว่าใจไม่กว้างใจ ใจไม่มีเมตตาอารีย์

เรามาลองดู เมื่อตาของเรามองเห็นอะไร สักอย่าง จิตใจของเราก็อยาก ปราถนา และความคิดก็เริ่มวางแผนทันทีทันใด หรือเมื่อใจปราถนา เพราะสายตากวาดไปเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ต้องใจ ความคิดก็เริ่มวางแผนที่จะได้มา

หรือ เมื่อหูได้ยิน จิตใจ อารมณ์พาไป ความคิดก็เริ่มหาช่องทาง วิเคราะห์ หรือ เมื่อเราได้กลิ่นอาหาร ขนม อันโอชะ ใจปราถนาจะกิน ความคิดก็วางแผน หาทางที่จะได้ขนมนั้นมากิน

หากจะ หยุด ก็หยุดที่ ตา หู จมูก ปาก ที่จะรับรู้สิ่งรอบกายทั้งหมด แต่เราหยุดไม่ได้ นอกจากไปอยู่นอกโลก เพราะทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมที่มีการสื่อสาร เป็นตัวเร้าทุกสถาณการณ์ เราต้องหยุดที่ใจกับความคิด เพราะสองส่วนนี้มันอยู่ภายในเรา เพราะสองส่วนนี้จะทำงาน วางแผนร่วมกัน และเราก็มีอำนาจจะหยุดด้วย หากเรารู้วิธีการ เพื่อผลที่ตามมา คือเราจะสามารถหยุดมันที่จะพาเราไปสู่การชั่วก็ได้ หรือหยุดความคิดที่สับสน วุ่นวาย ขาดสันติสุขในชีวิต

ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เรามีความคิดสับสนหาจุดสรุปไม่ได้ เราก็จะเป็นคนที่สื่อสารไม่รู้เรื่อง จัดลำดับสำคัญต่าง ๆในการทำงานไม่ได้ คิดสะเปะสะปะ ในการทำงาน ไม่สามารถทำงานใหญ่ที่ซับซ้อนกว่านี้ได้ และหากเราอยู่ในขบวนการบำบัด เราก็จะจมดิ่งลงไปในวิถีชีวิตเดิมอีก เพราะปัญหาอยู่ที่เรา คือ ความคิดและจิตใจ ที่ไม่มีระบบและไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งยังสับสนครับ

อยาก จะยกตัวอย่าง สมมุติว่าทั้งความคิดและจิตใจเป็นคอมพิวเตอร์ และมีไวรัสเข้าไปเยอะ ๆ (ไวรัสคือ สิ่งที่ไม่สว่าง ไม่สะอาด ไม่สงบ ) และเอกสารภายในคอมพิวเตอร์ของเรา แบ่งไม่เป็นหมวดหมู่ เช่นไฟล์เกี่ยวกับเสียง ภาพ อักษร ผสมปนเปไปหมด ไม่มีการจัดให้เรียบร้อย และไม่มีการแสกนไวรัส ไม่มีการจัดหมวดหมู่เอกสาร) ต่อมาไวรัสก็กัดกินสมองกลของเราและจิตใจ จนเครื่องพัง ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ สมองกลนี้ทำงานได้แต่งานเล็ก ๆ อย่าเพิ่งพูดถึงงานใหญ่ ๆ บางเครื่องจะเปิดเครื่องยังไม่ได้เลย

แต่หากไม่มีไวรัส ความชั่วร้าย มารเข้ามาแทรกแทรงเพราะมีระบบป้องกันอย่างดี และการจัดระบบจิตสำนึกดีชั่วทำงานปกติ โดยมีพระคำพระเจ้าเป็นตัวป้องกัน เจ้าของเครื่องจัดเอกสาร เป็นหมวดหมู่ ระบบสมองกลของความคิดของเราก็จะไม่รวนสับสน ครับ แล้วอะไรคือไวรัสล่ะ ก็ความคิดที่ไม่สว่าง ไม่สะอาด ไม่สงบ ไม่รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ