ประการที่สอง ขอความคิดเห็น การอธิบายจากผู้วิจารณ์ ว่าควรปรับปรุงอย่างไร แทนที่จะโกรธ หรือน้อยใจ โมโห ผู้วิจารณ์ เพื่อเขาจะได้ชี้แนะในจุดที่เรามองไม่เห็น แต่ว่าถ้าคำวิจารณ์นั้นมันไม่ใช่ตัวตนของท่านก็จงเป็นตัวของตัวเอง
ประการที่สาม ถามตัวเอง ทำไมเราจึงเจ็บปวด หมกมุ่นกับคำวิจารณ์นั้นมากเกินไป นั่นหมายถึงเราต้องมีรากบางอย่าง เช่น เราเป็นคนปกป้องตัวเองมากเกินไปไหม เราเป็นคนไม่ยุติธรรมไหม เพราะเราวิจารณ์ผู้อื่น แต่เรากลับยอมรับคำวิจารณ์ไม่ได้ หรือเรามีอคติกับผู้วิจารณ์หรือเปล่า ทั้งหมดเหล่านี้ ให้เราสารภาพบาป และประกาศออกเสียงเบา ๆ ขอปฎิเสธพฤติกรรมเหล่านี้ ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ ช่วยให้กำลังที่จะอวยพรคนที่วิจารณ์เรา และสร้างวินัยใหม่ ให้ใจกว้าง ยอมรับ สร้างระบบความคิดใหม่ว่าเราต้องใจกว้าง เติบโต และรู้จักขอบคุณผู้วิจารณ์ และยิ่งหากท่านไม่ได้ยินคำวิจารณ์จากปากคนนั้นโดยตรง ลืมไปเลย เพราะจากการเล่าปากต่อปาก อาจมีความจริงเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น เจ็บจุดไหน แก้วินัยในการคิดจุดนั้นครับ
ประการสุดท้าย สงบ อย่ารีบตอบโต้ หายใจเข้าออกลึก ๆ และขอบคุณพระเจ้า เพราะนั่นหมายความว่ามีคนสนใจ มองเห็นท่าน เห็นค่าในผลงาน การกระทำของท่าน แล้วมันเตะตา แตะใจเขา จึงมีคำวิจารณ์ กระตุ้นให้เขาคิด และห้ามตอบโต้ทั้งด้านคำพูด หรือการกระทำใด ๆ เพราะยิ่งท่านนิ่ง สงบ ความเจ็บปวดก็หายเร็ว ยิ่งท่านดิ้น ตอบโต้ บาดแผลก็จะมากยิ่งขึ้น และเจ็บมากขึ้น เรื่องไม่จบสักที จำไว้ว่า ศิษย์ไม่ใหญ่กว่าครู พระเยซูไม่เคยทำผิดกับใครเลย ผ่านมาสองพันปี คนเราทุกวันยังวิจารณ์ปฏิเสธพระองค์เลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น