วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

หมวดการบำบัด - ตอนที่ 8:อย่าพิพากษาผู้อื่น

อย่าพิพากษา ผู้อื่น


การพิพากษาแตกต่างกับการตัดสินอย่างไร? การพิพากษา เป็นการกล่าวถึงเรื่องที่เราไม่คำนึงเบื้องหน้าเบื้องหลัง และรวบรวมความผิดทั้งหมด ส่วนการตัดสิน คือ แทนที่จะตัดสิน การกระทำของคนนั้นกลับตัดสินคนนั้น ครับ

ตอนนี้เรามาดูการพิพากษาก่อนนะครับ อยากจะยกเหตุการณ์ง่าย ๆ เมื่อเราเห็นนายเอคุยกันในห้อง เราตำหนินายเอว่า ทำไมคุณเอคุยกันในห้องทุกครั้งเลย และครั้งที่แล้ว คุณเอก็เดินเข้าห้องผิด และทำแบบนี้มาตลอด จุดนี้เราจะเห็นชัดว่าคุณเอถูกพิพากษา คือ แทนที่เขาจะถูกพิพากษาการกระทำที่มาสายครั้งเดียว แต่เขาถูกตัดสินว่าคุณทำไมมาสายทุกครั้ง และรวมความผิดครั้งก่อน ๆ ด้วย มันเกินความจริงที่เป็นขณะนั้น เหมือนการที่คุณเอทำผิดครั้งนี้ผิดใหญ่หลวง

มันผิดยังไงที่ไปตัดสินคุณเอแบบนั้น ทำไมหรือครับ เพราะว่าความผิดพลาดในอดีตของคุณเอ เขาอาจจะ กลับใจ เสียใจกับสิ่งที่พลาดไปแล้ว เขาอาจสารภาพความผิดนั้นกับคนที่เกี่ยวข้องไปแล้วก็ได้ ทำไมเราเอาสิ่งนั้นมาพิพากษาเขาอีกครั้ง เราไม่ใช่พระเจ้าที่จะไปตัดสินเขาในอดีต เพราะนั่นเป็นเรื่องของพระเจ้า เราไม่ควรพิพากษา กล่าวโทษสิ่งที่เขาทำ โดยที่ไม่ทราบเบื้องหลังเรื่องที่ผ่านมาแล้ว

ปัจจัยหลายด้านที่เขาประพฤติแบบนั้น ในเวลานั้นก็สำคัญ มันเป็นองค์ประกอบที่บ่งบอกว่าอะไรที่เขากระทำเช่นนั้น สาเหตุอะไร ปัจจัยจากเวลา คน สถานที่ เราไม่ได้ถามสาเหตุเลย ว่าทำไมเขาจึงประพฤติแบบนี้ในครั้งนี้ เราอย่ารีบด่วนสรุปเลยครับ

เราต้องระวังคำพูด “เธอก็ทำแบบนี้ประจำ” และคำพูดที่ว่า “เมื่อก่อนเธอก็ทำแบบนี้” ลองคิดดูสิครับว่าหากท่านทำผิดพลาดบางอย่าง มีคนตำหนิท่าน พิพากษาท่านโดยเหมาเอาว่าท่านทำเป็นประจำและ เอาความผิดพลาดในอดีตของท่านมารวมด้วย ท่านจะแย่แค่ไหน มันดูเหมือนทำผิดครั้งนั้น ผิดมากตลอดเลย นี่เอง ผลร้ายของคำพิพากษา

ถูกหรือผิด โดยไม่ได้เป็นหน้าที่ของเราครับ มันเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องด้วย และแม้ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงก็ต้องยังมีองค์ประกอบในการกล่าว การตักเตือน วิจารณ์ในพื้นฐานเรื่องนั้นเรื่องเดียว เวลานั้น และองค์ประกอบ หลายปัจจัย เพื่อผู้นั้นจะไม่ท้อใจจนเกินไปเมื่อผิดพลาด
“เหตุฉะนั้น มนุษย์เอ๋ย ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร เมื่อท่านกล่าวโทษผู้อื่นนั้น ท่านไม่มีข้อแก้ตัวเลย เพราะเมื่อท่านกล่าวโทษผู้อื่น ท่านก็ได้กล่าวโทษตัวเองด้วย เพราะว่าท่านที่กล่าวโทษเขา ก็ยังประพฤติอยู่อย่างเดียวกับเขา” (รม.2:1) ผมพบว่านี่เป็นกฎอย่างหนึ่ง ที่เมื่อใครก็ตามตัดสินคนอื่น เขาก็มักจะต้องทำในสิ่งเดียวกัน

ทำไมล่ะ เพราะความเชื่อของคริสตชน เราเชื่อว่าหากเราพิพากษาผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม พระเจ้าก็จะทรงพิพากษาเราเช่นกัน ดังนั้น จงอยู่ด้วยกันด้วยความรัก หากจับผู้ใดทำผิดได้ จงช่วยผู้นั้นด้วยความถ่อมใจ เกรงว่า วันหนึ่ง เราจะอ่อนแอ และทำผิดพลาดแบบนั้นเช่นกัน ตอนนั้นล่ะใครจะช่วยและอยู่ฝ่ายเรา หากเราไม่เมตตาต่อผู้อื่น และให้ความเมตตาต่อผู้อื่นก่อน

กาลาเทีย 6:1-5 ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย แม้จับผู้ใดที่ละเมิดประการใดได้ ท่านซึ่งอยู่ฝ่ายพระวิญญาณ จงช่วยผู้นั้นด้วยใจอ่อนสุภาพให้เขากลับตั้งตัวใหม่ โดยคิดถึงตัวเอง เกรงว่าท่านจะถูกชักจูงให้หลงไปด้วย จงช่วยรับภาระของกันและกัน ท่านจึงจะได้ปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระคริสต์ เพราะว่าถ้าผู้ใดถือตัวว่าเป็นคนสำคัญทั้ง ๆ ที่เขาไม่สำคัญอะไรเลย ผู้นั้นก็หลอกตัวเอง ทุกคนจงสำรวจการกระทำของตนเอง จึงจะมีอะไร ๆ ที่จะอวดได้ในตัวไม่ใช่เปรียบกับผู้อื่น เพราะว่าทุกคนต้องรับภาระของตัวเอง

1 ความคิดเห็น: